• ถุงพลาสติก

    PRODUCT TYPE

คุณสมบัติ

>> HDPE (HIGH DENSITY POLYETHYLENE)

  • ทนความร้อนได้สูงและความเย็นประมาณ 0 องศาเซลเซียส
  • ทนต่อการฉีกขาด และสามารถรองรับน้ำหนักสินค้าที่อยู่ด้านในได้ดี
  • เนื้อถุงมีความหนาแน่น และป้องกันการซึมผ่านของอากาศได้ดี
  • เหมาะสมสำหรับการใช้งานบรรจุทุกรูปแบบ
  • ทนทานต่อสารเคมี
  • เนื้อค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก
  • ผลการทดสอบทางเคมี และชีวภาพสามารถใช้กับอาหารได้ โดยสถาบันทดสอบ SGS (Thailand) Limited

รายละเอียด HDPE (HIGH DENSITY POLYETHYLENE)

High Density Polyethylene เรียกย่อว่า HDPE เป็นพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน (Polyethylene, PE) ที่มีค่าความหนาแน่นสูง การเรียงตัวของโมเลกุลจะมีกิ่งก้านมาก มีความหนาแน่นมาก HDPE มีความหนาแน่นประมาณ 0.941-0.965 g/cm3 นิยมใช้กันมากในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ขวด ถัง ถาด ถุงที่ต้องการความแข็งแรงแต่ไม่ต้องการความใสมากนัก

  • ขุ่น แสงผ่านได้น้อยกว่า low density polyethylene (LDPE) และ LLDPE
  • สามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรดและด่าง ไม่ว่องไวต่อสารเคมี
  • มีความเหนียว ค่อนข้างนิ่ม ยืดหยุ่น ความต้านทานแรงต่างๆ ได้ดี ทนทานต่อแตกหรือการหักงอได้ดี มักใช้งานเป็นถุงที่ต้องรับน้ำหนักมาก ลัง ถัง ตะกร้า
  • ป้องกันการผ่านของอากาศได้ต่ำ จึงไม่เหมาะสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ใช้การอัดอากาศ
  • สามารถเพิ่มสีสันของขวดได้โดยไม่จำเป็นต้องเคลือบมัน สามารถพิมพ์สกรีนตกแต่งขวดได้
  • ทนความร้อนได้เล็กน้อย ควรบรรจุด้วยวิธีบรรจุแบบอุ่น (Warm filled: 80-100 องศาเซลเซียส)
  • สามารถทนความเย็นต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ ใช้บรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง (frozen food)
  • ป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้สูงมาก
  • การใช้ HDPE แทนที่ LDPE น้ำหนักของขวดสามารถลดลงได้มากกว่า 40% เนื่องจากสามารถเป่าขวดที่มีผิวได้บางมาก


>> LDPE (LOW DENSITY POLYETHYLENE)

  • ทนต่อการฉีกขาด และลักษณะเนื้อถุงมีความใส
  • สามารถแปรรูป เปลี่ยนแปลงลักษณะ และสามารถรองรับน้ำหนักสินค้าได้ดี
  • เนื้อถุงนิ่มเหนียว ยืดตัวได้มาก
  • ไม่ค่อยทนต่อความร้อน
  • สามารถมองเห็นสินค้าภายในได้ และสามารถรองรับน้ำหนักสินค้าได้
  • ป้องกันความชื้น และสารเคมีได้ดี
  • ผลการทดสอบทางเคมี และชีวภาพสามารถใช้กับอาหารได้ โดยสถาบันทดสอบ SGS (Thailand) Limited

รายละเอียด LDPE (LOW DENSITY POLYETHYLENE)

Low density polyethylene (LDPE) เป็นพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน (Polyethylene) ที่มีความหนาแน่นต่ำ

  • เป็นพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density) (0.910 -0.925 g/cm3)
  • ชื่อสามัญเรียกว่าถุงเย็น เพราะไม่ทนความร้อน
  • สามารถใช้ความร้อนเชื่อมติดผนึกได้ดี
  • นิ่ม ยืดหยุ่นได้ดีทนต่อการทิ่มทะลุและการฉีกขาด
  • เหนียว ไม่กรอบแตกง่าย แต่ความแข็งและทนทานน้อยกว่า HDPE (High Density Polyethylene)
  • โปร่งใส มี ความใสน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ PP แต่ใสกว่า HDPE (High Density Polyethylene) ไม่ว่องไวต่อสารเคมี ทนต่อกรดและด่างได้ดี
  • ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี
  • ออกซิเจนและอากาศซึมผ่านได้
  • ไขมันซึมผ่านได้
  • ดูดฝุ่นในอากาศมาเกาะติดตามผิว ทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจาก LDPE นี้เมื่อทิ้งไว้นานๆ จะเปรอะด้วยฝุ่น

การใช้เพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร

  • ถุงเย็น
  • ฟิล์มหดและฟิล์มยืด
  • ขวดน้ำ ฝาขวด
  • ใช้เป็นแผ่นฟีส์ม เพื่อทำบรรจุภัณฑ์สำหรับ Modified Atmosphere Packaging
  • ใช้ผลิตแผ่นฟิล์ม โดยใช้รวมกับวัสดุอื่น เป็นวัสดุประสาน (Laminate) เพื่อปิดผนึกด้วยความร้อน และใช้กับบรรจุภัณฑปลอดเชื้อ (Aseptic Packaging) เช่น
    • – Laminate Carton
    • – Bag in Box

ข้อจำกัดการใช้

  • ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้บรรจุอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด ขนมอบกรอบ เพราะป้องกันการซึมผ่านเข้าออกของไขมัน และออกซิเจนไม่ดี ทำให้เกิดกลิ่นหืน (Rancidity) ได้ง่าย เนื่องจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของลิพิด (Liqid Oxidation)
  • ไม่ทนต่อความร้อน ไม่สามารถใช้กับกระบวนการบรรจุร้อน (Hot Fill) ได้ ใช้ได้เฉพาะการบรรจุอาหารขณะเย็นเท่านั้น (Cool Filled: อุณหภูมิขณะบรรจุไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส)

 

>> PP (POLYPROPYLENE)

  • ทนความร้อนสูง
  • มีจุดหลอมตัวสูง ทนต่อการฉีกขาด และสามารถรองรับน้ำหนักสินค้าได้ดี
  • สามารถบรรจุของร้อนและทนความร้อน โดยไม่เสียรูป
  • ป้องกันการซึมผ่านความชื้นและอากาศได้ค่อนข้างดี
  • ป้องกันสารเคมีได้ดี

รายละเอียด PP (POLYPROPYLENE)

พอลิโพรไพลีน (Polypropylene) เรียกย่อว่า PP เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร มีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ ความหนาแน่น 0.90-0.91 มีจุดหลอมเหลว 160-170 องศาเซลเซียส

  • ขึ้นรูปโดยการหลอมเม็ดพลาสติก PP Food Grade แล้วยิงขึ้นรูป
  • มีความแข็งและเหนียว คงรูปดี ทนต่อการหักงอได้ปานกลาง
  • ทนต่อความร้อนและสารเคมี
  • ใส โปร่งแสงมากกว่า HDPE
  • ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี
  • ป้องกันการผ่านของอากาศได้ต่ำ
  • ไม่ทนต่อความเย็น
  • การใช้เพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร
  • ใช้ผลิตถุงทนร้อน ที่มักเรียกว่า ถุงร้อนชนิดใส
  • ใช้สำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ อาหารเพื่อการแปรรูปอาหารด้วยความร้อน (Thermal Processing) ทั้งประเภท In-Container Pasteurization และ In-Container Sterilization เพราะทนความร้อนได้สูง และสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารขณะที่ร้อนได้
  • โดยบรรจุด้วยวิธีแบบร้อนได้ (Hot Filled: 100-121 องศาเซลเซียส)
  • ใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารในครัวเรือน เช่น จาม ชาม ถ้วย
  • ใช้ผลิต Retort Pouch และ Flexible Packaging ฆ่าเชื้อด้วยรีทอร์ท (Retort) ได้
  • เข้าไมโครเวฟได้ (Microwavable)
  • ใช้ผลิตถ้วยหรือชาม สำหรับผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งคืนรูปด้วยการเติมน้ำร้อนจัด หรือเติมน้ำ เข้าไมโครเวฟก็ได้

ข้อจำกัดการใช้

  • ไม่ทนต่อความเย็น ไม่เหมาะกับอาหารแช่เยือกแข็ง (Frozen Food)
  • PP เชื่อมติดได้ยาก ไม่ใช้เป็นวัสดุที่เชื่อมติด

 

>> BIODEGRADABLE PLASTIC

  • มีส่วนผสมของสารเติมแต่งเพื่อการย่อยสลาย และสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100%
  • ไม่มีส่วนผสมของสารก่อมะเร็ง และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
  • อายุการใช้งาน หรือการสลายตัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยการใช้งาน 1 ปี – 5 ปี
  • 100% RECYCLABLE

รายละเอียด BIODEGRADABLE PLASTIC

นักวิจัยของมหาวิทยาลัย Caroliana สหรัฐอเมริกาได้ตีพิมพ์รายงานของความสามารถในการย่อยสลายพลาสติกที่ย่อยสลายด้วยชีวภาพในกระบวนการฝังกลบ รายงานนี้ได้ตีพิมพ์ออนไลน์ที่ “วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม”

รายงานได้กล่าวว่ามันเป็นเรื่องสำคัญที่จะไม่ทำให้สับสนระหว่างพลาสติกที่ย่อยสลายได้โดยกระบวนการทางชีวภาพทั้งสองชนิด NC ได้รายงานเกี่ยวกับพลาสติกที่เป็น Hydrobiodegradable หรือพลาสติกที่ย่อยสลายได้ โดยปกติแล้วจะผลิตมาจากพืชซึ่งพลาสติกชนิดนี้ถูกวางเป้าไว้เพื่อใช้ในกระบวนการทำปุ๋ยหมักเชิงอุตสาหกรรม และนี่คือเหตุผลที่ทำให้อัตราการย่อยสลายของพลาสติกชนิดนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามมาตรฐานต่างๆ ดังนี้ ASTM D6400 EN13432 และ Australian4736 และพลาสติกชนิดนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ย่อยสลายในสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบเปิด เนื่องจากพลาสติกนี้จะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรื่อนกระจกที่เป็นอันตรายมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ฝังกลบ

บทความดังกล่าวเป็นไปในทางเดียวกับรายงานของมหาวิทยาลัย NCState แต่ในรายงานไม่ได้แยกระหว่างพลาสติกที่ย่อยสลายได้และพลาสติกที่เป็น Oxo-biodegradable สำหรับพลาสติกที่เป็น Oxo-biodegradable ไม่ส่งผลถึงการเกิดปัญหาเรื่องก๊าซเรือนกระจกเพราะว่าพลาสติกชนิดนี้มีอัตราการย่อยสลายที่ช้ากว่าและไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนในกระบวนการฝังกลบ